ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blogger รอบรู้เรื่องโคเนื้อ - โคนม ขอให้มีความสุขกับการศึกษาความรู้นะค่ะ

วันอาทิตย์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2554

พันธุ์โคเนื้อ

โคพื้นเมือง
โคพื้นเมืองของไทยมีลักษณะใกล้เคียงกับโคพื้นเมืองของประเทศเพื่อนบ้านในแถบเอเชีย ลักษณะรูปร่างกระทัดรัด ลำตัวเล็ก ขาเรียวเล็ก ยาว เพศผู้มีหนอกขนาดเล็ก มีเหนียงคอ แต่ไม่หย่อนยานมาก หูเล็ก หนังใต้ท้องเรียบ มีสีไม่แน่นอน เช่น สีแดงอ่อน เหลืองอ่อน ดำ ขาวนวล น้ำตาลอ่อน และอาจมีสีประรวมอยู่ด้วย  เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 300-350 ก.ก. เพศเมีย 200-250 ก.ก.  


โคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์
มีถิ่นกำเนิดในประเทศฝรั่งเศส มีสีขาวครีมตลอดตัว รูปร่างมีลักษณะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขาสั้น ลำตัวกว้าง ยาว และลึก มีกล้ามเนื้อตลอดทั้งตัว นิสัยเชื่อง เป็นโคที่มีขนาดใหญ่มาก เพศผู้เมื่อโตเต็มที่หนักประมาณ 1,100 ก.ก. เพศเมีย 700-800 ก.ก.


โคพันธุ์ซิมเมนทัล
มีถิ่นกำเนิดในประเทศสวิสเซอร์แลนด์ นิยมเลี้ยงกันในประเทศยุโรป ในเยอรมันเรียกว่าพันธุ์เฟลคฟี (Fleckvieh) ได้รับการปรับปรุงพันธุ์เป็นโคกึ่งเนื้อกึ่งนม ในประเทศสหรัฐอเมริกานำไปคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อ ลำตัวมีสีน้ำตาลหรือแดงเข้มไปจนถึงสีฟางหรือเหลืองทองและมีสีขาวกระจายแทรกทั่วไป หน้าขาว ท้องขาว และขาขาว เป็นโคขนาดใหญ่ โครงร่างเป็นสี่เหลี่ยม ลำตัวยาว ลึก บั้นท้ายใหญ่ ช่วงขาสั้นและแข็งแรง เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 1,100-1,300 ก.ก. เพศเมีย 650-800 ก.ก.

  
โคพันธุ์ตาก
เป็นโคลูกผสมระหว่างพันธุ์ชาร์โรเล่ส์กับพันธุ์บราห์มัน โดยกรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ตาก ทำการคัดเลือกและปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่ที่โตเร็ว เนื้อนุ่ม เพื่อทดแทนการนำเข้าพันธุ์โคและะเนื้อโคคุณภาพดีจากต่างประเทศ  การสร้างพันธุ์ในฝูงปรับปรุงพันธู์ดำเนินการโดยนำน้ำเชื้อโคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์คุณภาพสูงจากประเทศฝรั่งเศส ผสมกับแม่โคบราห์มันพันธุ์แท้ ได้โคลูกผสมชั่วที่ 1 (เรียกว่าโคพันธุ์ตาก 1) ที่มีเลือด 50% ชาร์โรเล่ส์ และ 50% บราห์มัน แล้วผสมแม่โคเพศเมียชั่วที่ 1 ดังกล่าวด้วยน้ำเชื้อหรือพ่อบราห์มันพันธุ์แท้ได้ลูกโคชั่วที่ 2 (เรียกโคพันธุ์ตาก 2) ซึ่งมีเลือด 25% ชาร์โรเล่ส์ และ 75% บราห์มัน จากนั้นผสมแม่โคเพศเมียชั่วที่ 2 ด้วยน้ำเชื้อโคพันธุ์ชาร์โรเล่ส์คุณภาพสูง ได้ลูกโคชั่วที่ 3 (เรียกว่าโคพันธุ์ตาก) ซึ่งมีเลือด 62.5% ชาร์โรเล่ส์ และ 37.5% บราห์มัน แล้วนำโคชั่วที่ 3 ผสมกัน คัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่ เรียกว่า โคพันธุ์ตาก
โคพันธุ์กำแพงแสน
เป็นโคพันธุ์ใหม่ปรับปรุงพันธุ์โดยมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน โดยใช้พันธุ์ชาร์โรเล่ส์กับบราห์มัน คล้ายกับโคพันธุ์ตาก แต่โคพันธุ์กำแพงแสนเริ่มต้นปรับปรุงพันธุ์จากโคพื้นเมือง โคพันธุ์กำแพงแสนมีสายเลือด 25% พื้นเมือง 25% บราห์มัน และ 50% ชาร์โรเล่ส์ ส่วนลักษณะและคุณสมบัติต่างๆ คล้ายกับโคพันธุ์ตาก


โคพันธุ์กบินทร์บุรี
เป็น โคลูกผสมระหว่างพันธุ์ซิมเมนทัลกับพันธุ์บราห์มัน โดยกรมปศุสัตว์ได้มอบหมายให้ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ปราจีนบุรี (ซึ่งตั้งอยู่ที่อำเภอกบินทร์บุรี) ทำการสร้างโคพันธุ์ใหม่ให้เป็นโคกึ่งเนื้อกึ่งนม โดยลูกโคเพศผู้ใช้เป็นโคขุน และแม่โคใช้รีดนมได้ การสร้างพันธุ์ในฝูงปรับปรุงพันธุ์ดำเนินการโดยนำน้ำเชื้อโคพันธุ์ซิมเมนทัล คุณภาพสูงจากประเทศเยอรมันผามกับแม่โคบราห์มันพันธุ์แท้ ได้ลูกโคชั่วที่ 1 ที่มีเลือด 50% ซิมเมนทัล และ 50% บราห์มัน แล้วผสมโคชั่วที่ 1 เข้าด้วยกัน คัดเลือกปรับปรุงให้เป็นโคเนื้อพันธุ์ใหม่เรียกว่า โคพันธุ์กบินทร์บุรี


โคพันธุ์เดร้าท์มาสเตอร์
เป็นโคพันธุ์ใหม่ที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์ในประเทศออสเตรเลีย กรมปศุสัตว์เคยนำเข้ามาศึกษาทดลองเลี้ยง ขณะนี้ยังคงมีเลี้ยงในฟาร์มเอกชนบางแห่ง เป็นโคลูกผสมที่มีสายเลือดโคพันธุ์บราห์มัน 3/8-1/2 พันธุ์ชอร์ทฮอร์น 1/2-5/8 และพันธุ์เฮียร์ฟอร์ดอยู่เล็กน้อย มีสีแดง มีทั้งมีเขาและไม่มีเขา มีตระโหนกเล็กน้อยตรงหัวไหล่ มีเหนียงหย่อนเล็กน้อย ลำตัวลึกเรียบ ทนแล้งและอากาศร้อนชื้น ทนโรคเห็บ การเจริญเติบโตเร็ว เปอร์เซนต์ซากและคุณภาพซากดี 


โคพันธุ์ฮินดูบราซิล
เป็นโคที่มีเชื้อสายโคอินเดียเช่นเดียวกับโคบราห์มัน แต่ปรับปรุงพันธุ์ที่ประเทศบราซิล สีมีตั้งแต่สีขาวจนถึงสีเทาเกือบดำ สีแดง แดงเรื่อๆ หรือแดงจุดขาว หน้าผากโหนกกว้างค่อนข้างยาว หูมีขนาดกว้างปานกลางและห้อยยาวมาก ปลายใบหูมักจะบิด เขาแข็งแรงมักจะเอนไปด้านหลัง หนอกมีขนาดใหญ่ ผิวหนังและเหนียงหย่อนยานมาก เป็นโคที่มีขนาดใหญ่และค่อนข้างสูง เพศผู้โตเต็มที่หนักประมาณ 900-1,200 ก.ก. เพศเมีย 600-700 ก.ก.


วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของตลาดนัดโค - กระบือ

          ตลาดนัด โค-กระบือ บ้านหนองหญ้าปล้อง ได้ชื่อว่าเป็นตลาดนัดโค- กระบือ ที่เก่าแก่ และใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเชื่อกันว่าใหญ่ที่สุดในเอเซียเมื่อหลายปีก่อน เริ่มก่อตั้งเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2510 โดยสองชาวนาสามี ภรรยา นายเกษม นางแป้งร่ำ พลีขันธ์ (บุญเกิด) บนเนื้อที่ป่าละเมาะในพื้นที่นาของตนเอง ที่บ้านหนองหญ้าปล้อง หมู่ที่ 5 ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอทัพทัน อยู่ห่างจากถนนสายทัพทัน โกรกพระ ประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ โดยเริ่มจากการ ที่ชาวบ้านเอาควายโกงมาแลกกัน ใครตาดีได้ ตาร้ายเสีย(ควายโกง หมายถึง ควายที่เกเร ทำงาน ไถนา คราดนาไม่ได้) เจ้าของไม่ต้องการแล้วก็จะมาขอแลกเอาควายตัวอื่นไปใช้งาน แทน และ "แปะเงิน" ให้กับ เจ้าของสถานที่ขอเก็บ "ค่าสนาม" หรือค่าหลัก" ตัวละ 1 บาท โดยกำหนดวันนัด คือ ทุกวันพระ เพราะ ชาวนาจะหยุดใช้แรงงานสัตว์ในวันพระ


 เมื่อมีคนรู้จักมากขึ้น ที่นี้จึงกลายเป็นที่นัดพบสำหรับเจ้าของวัวควาย และผู้ที่อยากจะได้วัวควายจากการแลกเปลี่ยนกัน จึงกลายมาเป็นการซื้อขาย จากการจูงไล่ต้อนมาตามคันนา กลายเป็นการใช้รถบรรทุก จากจำนวนไม่กี่ตัว จึงกลายเป็นร้อยเป็นพันตัว การเก็บค่าสนาม หรือค่าหลักก็เพิ่มขึ้น มีการลงทุนถมถนน ให้รถบรรทุกเข้าได้สะดวกยิ่งขึ้น กิจการขยายใหญ่โต มีชาวบ้าน พ่อค้า แม่ค้าจากทั่วสารทิศ ทั้งใน จังหวัดอุทัยธานีและจากจังหวัดต่างๆ จากภาคอีสาน ภาคเหนือ และภาคกลาง นำวัวควายมา ซื้อขายกัน การซื้อขายนี้จะใช้เงินสดเพียงอย่างเดียว ในวันนั้นๆ จะมีเงินหมุนเวียนเป็นล้านๆ บาท



หลักในการพิจารณาจัดหาโคเข้าขุน
1. พันธุ์โค ลในการเลือกซื้อโคเข้ามาขุนควรจะพิจารณาเลือกซื้อพันธุ์โคที่สอดคล้องกับ ความต้องการของตลาดโคขุนด้วย เช่น โคพันธุ์เมืองตลาดชั้นสูงไม่ต้องการเพราะ ซากเล็ก ไขมันแทรกน้อย หน้าตัดเนื้อสันเล็ก พันธุ์โคที่เหมาะสมในการนำมาขุนควรเป็นโคลูกผสมที่มีสายเลือดโคยุโรปอยู่ใน ช่วง 50-62.5% เพราะพบว่าโคที่มีสายเลือดของโคยุโรปอยู่สูงกว่านี้ จะมีปัญหาในการเลี้ยงในภาพภูมิอากาศของประเทศไทย พันธุ์โคที่เหมาะสมต่อการขุน ได้แก่ โคลูกผสมบราห์มันXพันธุ์พื้นเมืองXพันธุ์ชาร์โรเล่ส์, บราห์มันXชาร์โรเล่ส์, บราห์มันXพื้นเมือง, บราห์มันXลิมูซีน, ซิมเมนทอล, เดร้าท์มาสเตอร์, บราห์มันXแองกัส (แบงส์กัส) เป็นต้น
2. เพศโค ลูกโคที่จะนำมาขุนควร เป็นเพศผู้เพราะการเจริญเติบโตและเปอร์เซนต์ซากหลังชำแหละจะสูงกว่าเพศเมีย อีกทั้งราคาก่อนขุนก็ถูกกว่าอีกด้วย ส่วนเหตุผลที่จะต้องตอนลูกโคเพศผู้ก่อนหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับวิธีการเลี้ยง กล่าวคือ หากคอกขุนเป็นคอกขังเดี่ยวก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องตอน มีการศึกษาพบว่า โครุ่นเพศผู้ไม่ตอน จะมีการเจริญเติบโตสูงกว่าโครุ่นเพศผู้ตอน และมีประสิทธิภาพการใช้อาหารสูงกว่า แต่โคตอนจะมีไขมันแทรกดีกว่า หากตลาดมีความต้องการและให้ราคาดีก็ควรจะตอน ในกรณีที่ต้องเลี้ยงโคขุนในคอกรวมกันและขนาดของโคมีความแตกต่างกัน การตอนจะช่วยลดความคึกคนองของโคที่ใหญ่กว่า ลดการรังแกตัวอื่นลงไปได้
3. อายุของโค มีความสัมพันธ์กับ ระยะเวลาขุน กล่าวคือ ถ้าขุนโคอายุน้อยจะต้องใช้เวลามากกว่าการขุนโคใหญ่ เช่น โคหย่านม ใช้เวลาขุนประมาณ 10 เดือน แต่ถ้าเป็นโคอายุ 1 ปี ใช้เวลาประมาณ 8 เดือน โคอายุ 1.5 ปี ใช้เวลาขุนประมาณ 6 เดือน โคอายุ 2 ปี ใช้เวลาขุนประมาณ 4 เดือน และโคโตเต็มวัยใช้เวลาขุนประมาณ 3 เดือน ดังนั้น ถ้าตลาดระยะสั้นดีหรือต้องการผลตอบแทนเร็วก็ควรขุนโคใหญ่ แต่ถ้าตลาดระยะยาวดีหรือตลาดยังไม่แน่นอนควรขุนโคเล็ก เพื่อยืดเวลาและโคจะเจริญเติบโตไปเรื่อยๆ ส่วนใหญ่จะประวิงเวลาไม่ได้เพราะระยะหลังๆ ของการขุนโคใหญ่จะโตช้ามาก
ถ้าผู้เลี้ยงมีประสบการณ์ในการเลี้ยงโคขุนน้อยควรจะขุนโคใหญ่ เพรามีปัญหาในการเลี้ยงดูน้อยกว่าโคเล็ก แต่ถ้าผลิตเนื้อโคขุนส่งตลาดชั้นสูง โคที่ขุนเสร็จแล้วไม่ควรมีอายุเกิน 3 ปี และถ้าผลิต "โคมัน" ส่งตลาดพื้นบ้าน ควรจะเลือกโคเต็มวัยมาขุนเพื่อจะได้มีไขมันมากและสีเหลือง

การแบ่งเกรดซากโคเนื้อ

           การแบ่งเกรดเนื้อสัตว์มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระดับชั้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน การแบ่งชั้นและจัดระดับของเนื้อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เลี้ยงสัตว์ผลิต เนื้อที่มีคุณภาพดีเพื่อการจำหน่ายได้ราคาดี การจัดระดับเนื้อสัตว์เป็นสิ่งที่ควรเข้าใจ เพื่อให้เลือกเนื้อสัตว์อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ในการแปรรูป หรือการประ กอบ อาหารต่อไป
            การแบ่งเกรดเนื้อถือคุณภาพของซากเป็นหลัก โดยประเมินจากลักษณะที่บ่งถึงความอร่อยของเนื้อ เช่น ความนุ่ม ความชุ่มน้ำ และรสชาติ เป็นต้น ลักษณะซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของเนื้อที่นำมาใช้ประกอบการแบ่งเกรด ได้แก่ อายุ ไขมันแทรกความแน่น สีของเนื้อสัตว์ และอัตราส่วนขององค์ประกอบภายในซาก
    
การแบ่งเกรดซากโค
          เกรดคุณภาพซาก แบ่งออกเป้น 7 เกรดตามมาตรฐาน กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ดูจากไขมันแทรก ความแน่น สีเนื้อ และลักษณะเนื้อ


ชั้นดีเยี่ยม (Prime) ส่วนมากเป็นซากที่ได้จากโคอายุน้อย
ชั้นดี (Choice) ระหว่าง 9-42 เดือน (3 ปีครึ่ง)
ชั้นกลาง (Good) มีไขมันแทรกปานกลางถึงสูงสุด
ชั้นทั่วไป (Standard)
ชั้นตลาด (Commercial) ส่วนมากเป็นซากที่ได้จากโคอายุมาก
ชั้นพื้นบ้าน (Utility) อายุตั้งแต่ 42 เดือน เป็นต้นไป มีไขมันแทรก
ชั้นต่ำและต่ำมาก (Cutter and Canner) ต่ำสุด ถึง สูงที่สุด
ชิ้นส่วนที่ได้จากการชำแหละซากโคขุน
สะโพก                                    23 %
สันส่วนหน้า                             9 %
สันส่วนกลาง                            8 %
สันส่วนหลัง                             9 %
ไหล่                                       26 %
พื้นอก                                     8 %
พื้นท้อง                                   5 %
อกหรือเสือร้องไห้                    5 %
แข้งหน้า                                 4 %
ไขมันหุ้มไต                            3 %

ลักษณะการแบ่งเกรดซาก
           การแบ่งเกรดของเนื้อโคสามารถแบ่งตามเกรด 2 ชนิด ได้แก่ เกรดคุณภาพซากและเกรดผลผลิตเกรดคุณภาพซาก เป็นการแบ่งเกรดตามคุณภาพด้านต่างๆของเนื้อสำหรับเกรดผลผลิตเป็นการแบ่งเกรด โดยถือปริมาณหรือน้ำหนักของซาก เป็นเกณฑ์ เช่น ปริมาณเนื้อของซากที่ได้หรือปริมาณเนื้อที่สามารถตัดเพื่อขายปลีก หรือปริมาณเนื้อที่นำมาบริโภคได้ เป็นต้น เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาจัดเกรดเนื้อโดยถือปริมาณหรือน้ำหนักซาก ได้แก่ ปริมาณไขมันภายนอก ไขมันรอบไต หัวใจ ภายในช่องท้อง และพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อสันนอก

อุตสาหกรรมโคเนื้อในตลาดโลก

      เนื้อโคเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของประชากรโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตหนาวจะเป็นที่นิยมบริโภคกันมากกว่าประเทศในเขตร้อน และอาจจะรวมถึงความเชื่อทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยม ที่ทำให้พฤติกรรมการบริโภคเนื้อในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน จากข้อมูลการเลี้ยงโคเนื้อในประเทศต่างๆ ทั่วโลกตั้งแต่ปี 1997 จนถึง ปี 2002 พบว่า การเลี้ยงโคเนื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ ในปี 1997 มีโคเนื้อจำนวน 1,332.5 ล้านตัว เพิ่มขึ้นเป็น 1,366.7ล้านตัวในปี 2002 หรือมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 0.51 ต่อปี โดยประเทศที่มีการเลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด 5 อันดับแรกของโลกคือ บราซิล จีน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ( ไม่รวมฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และอังกฤษ )  และอาร์เจนตินา ตามลำดับ

              ในด้านปริมาณการผลิตโคเนื้อพบว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกผลิตโคเนื้อเพิ่มขึ้นจากปี 1997 ที่มีปริมาณการผลิตเท่ากับ 55,309 ตัน เป็น 57,883 ตัน ในปี 2002 หรือมีอัตราการผลิตโคเนื้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.4 ต่อปี โดยประเทศที่ผลิตโคเนื้ออันดับต้นๆ ของโลกได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป บราซิล และจีน ตามลำดับ

  แสดงประเทศที่มีการส่งออกโคเนื้อในลำดับต้นๆ ของโลกในปี 2002
          การนำเข้าและส่งออกโคเนื้อของบางประเทศที่เป็นผู้นำเข้าและส่งออกโคเนื้อรายใหญ่ๆ ของโลกพบว่า ในช่วงปี 1997 ถึง 2002 มีปริมาณการส่งออกเฉลี่ยเท่ากับ 55,544.8 ตัน โดยประเทศที่มีการส่งออกมากที่สุดคือ ออสเตรเลีย โดยมีการส่งออกเนื้อเท่ากับ 1,362 ตัน (ประมาณร้อยละ 23 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด) รองลงมาคือสหรัฐอเมริกาซึ่งมีปริมาณการส่งออกใกล้เคียงกับออสเตรเลียคือเท่ากับ 1,110 ตัน  (ร้อยละ 18 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด) ลำดับต่อมาคือ บราซิล มีการส่งออกเนื้อเท่ากับ 881 ตัน (ร้อยละ 15 ของปริมารการส่งออกทั้งหมด) 

แสดงประเทศที่มีการนำเข้าโคเนื้อในลำดับต้นๆ ของโลก ในปี 2002 
              ส่วนการนำเข้าพบว่าในช่วงปี 1997 ถึง 2002 มีปริมาณการนำเข้าเฉลี่ยเท่ากับ 4,262 ตัน ซึ่งในปี 2002 พบว่าประเทศที่มีการนำเข้าโคเนื้อมากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา มีการนำเข้า 1,460 ตัน ( ร้อยละ 38 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด) รองลงมาคือ ญี่ปุ่น มีการนำเข้า 707 ตัน (ร้อยละ 18 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด) ลำดับต่อมาคือ รัสเซีย มีการนำเข้า 638 ตัน (ร้อยละ 16 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด)

อุตสาหกรรมโคเนื้อในประเทศไทย

          อุตสาหกรรมโคเนื้อของไทยแม้ว่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่าไม่สูงนักเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ แต่ถือได้ว่ามีความสำคัญเช่นเดียวกัน และรัฐบาลหลายยุคหลายสมัยที่ผ่านมาก็ได้ให้การสนับสนุนมาโดยตลอด  เดิมการเลี้ยงโคของไทย เป็นการเลี้ยงเพื่อใช้งานในการทำการเกษตรเป็นหลัก เมื่อใช้งานจนหมดอายุจึงปลดจำหน่ายเป็นโคเนื้อ ต่อมาเมื่อมีการนำเครื่องจักรกลทางการเกษตร เช่น เครื่องไถดิน พรวนดิน หรือนวด ซึ่งง่ายต่อการดูแลและใช้งานได้ตลอดเวลามาใช้มากขึ้น ทำให้การใช้โคเพื่องานทำการเกษตรลดน้อยลงเป็นลำดับ ปัจจุบันรูปแบบการเลี้ยงโคได้เปลี่ยนมาเป็นการเลี้ยงเพื่อจำหน่ายเป็นโคเนื้อ ทั้งนี้เพราะความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์เพิ่มสูงขึ้น ทั้งจากความต้องการของประชากรในประเทศเองและของนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ลักษณะการเลี้ยงจะเป็นการเลี้ยงครั้งละหลายๆ ตัว และมีรูปแบบเป็นฟาร์มมากขึ้น ในขณะเดียวกันรัฐบาลได้มีนโยบายส่งเสริมการเลี้ยงโคเนื้อ และเป็นโครงการหนึ่งในแผนปรับโครงสร้างและระบบการผลิตการเกษตร โดยหวังจะให้การเลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้กับเกษตรกรอย่างสม่ำเสมอ และเพื่อทดแทนการลดพื้นที่ปลูกข้าวนาปรังข้าวนาปีในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม  อาจกล่าวได้ว่าจากปริมาณความต้องการบริโภคเนื้อสัตว์ที่เพิ่มขึ้นรวมถึงการส่งเสริมจากรัฐทำให้ในปัจจุบันเกษตรกรหันมาเลี้ยงโคเนื้อเพื่อการค้ากันมากขึ้น

          โคเนื้อที่เลี้ยงในประเทศไทยแต่เดิมเป็นพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งขนาดค่อนข้างเล็ก ขนสั้นเกรียนมีหลายสี มีน้ำหนักน้อยประมาณ 200-350 กิโลกรัม สามารถหากินและเติบโตจากการหาหญ้ากินเองตามธรรมชาติ โตช้าแต่มีความต้านทานโรคเมืองร้อนได้ดี ระยะต่อมา มีการนำโคพันธุ์ดีจากต่างประเทศเข้ามาผสมกับโคพันธุ์พื้นเมือง เพื่อให้ได้โคลูกผสมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ยังคงมีความต้านทานโรคเมืองร้อน ซึ่งพันธุ์ที่นิยมและเหมาะสมที่สุดทั้งด้านใช้แรงงานและให้เนื้อ คือพันธุ์บราห์มัน ปัจจุบันนิยมเลี้ยงพันธุ์ออสเตรเลียบราห์มัน และอเมริกันบราห์มัน ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ทางรัฐให้การส่งเสริม นอกจากนี้ยังมีการนำพันธุ์โคอื่นๆเข้ามาผสมกับโคพื้นเมืองเพิ่มขึ้น ซึ่งมีคุณสมบัติให้เนื้อโดยตรงและสามารถเติบโตได้ในสภาพแวดล้อมของไทยได้ดี คือ พันธุ์ชาร์โรเล่ส์ ลิมูซีน และเฮียฟอร์ด เป็นต้น




        จากสถิติพบว่าการเลี้ยงโคเนื้อในประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงในช่วงปี 1993 1998 คือในปี 1993 มีโคเนื้อ จำนวน  7.24 ล้านตัว ลดลงเป็น 4.57 ล้านตัว ในปี 1998 หรือมีอัตราการลดลงเฉลี่ยร้อยละ 8.42 สาเหตุการลดลงอย่างมากของการเลี้ยงโคเนื้อในช่วงก่อนวิกฤติเศรษฐกิจเนื่องมาจาก เศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโตในอัตราที่สูงแบบก้าวกระโดด โดยเฉพาะในภาคการเงิน อสังหาริมทรัพย์ และอุตสาหกรรม  ซึ่งในขณะนั้นภาคการเกษตรถูกมองว่าให้ผลตอนแทนน้อย ทำให้แรงงานเปลี่ยนจากการทำงานในภาคการเกษตรเข้ามาสู่การทำงานภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น อีกทั้งการบริโภคโคเนื้อในประเทศไม่เป็นที่นิยม  และเป็นสินค้าที่มีความยืดหยุ่นสูง หาสินค้าอื่นทดแทนได้ ทำให้ราคาของโคเนื้อไม่สามารถปรับตัวให้ขึ้นสูงได้ ผลตอบแทนที่เกษตรกรเลี้ยงโคเนื้อได้รับจึงต่ำ และจากที่จำนวนโคเนื้อที่เลี้ยงลดลงทำให้ปริมาณการผลิตโคเนื้อในช่วงปี 1993-1998 ลดลงด้วย คือในปี 1993 มีปริมาณการผลิตโคเนื้อ 1.37 ล้านตัว ลดลงเป็น 0.94 ล้านตัวในปี 1998 หรือมีอัตราการลดลงเฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี




              ภายหลังจากการเกิดวิกฤติเศรษฐกิจนับตั้งแต่ปี 1998 ราคาโคเนื้อปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งรัฐบาลให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้เลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพ เกษตรกรจึงหันมาเลี้ยงโคเนื้อเพิ่มมากขึ้น ทำให้จำนวนเลี้ยงโคเนื้อมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากสถิติจะพบว่าในปี 2003 มีโคเนื้อ จำนวน 5.9 ล้านตัว หรือมีอัตราการเพิ่มจากปี 1998 เฉลี่ยร้อยละ 5.28 ต่อปี ส่วนปริมาณการผลิตก็มีแนวโน้มเพิ่มตามขึ้นมา ซึ่งในปี 2003 มีปริมาณการผลิตคาดการณ์เท่ากับ 0.96 ล้านตัว หรือมีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยตั้งแต่ปี 1999 เป็นต้นมาเท่ากับร้อยละ 0.5 ต่อปี โดยที่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อปี 1998 มีจำนวน 706,187 ราย เพิ่มเป็น 991,000 ราย ในปี 2003 หรือมีอัตราการเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 7.06 ต่อปี


การประกวดโคสวยงาม

           
               กรมปศุสัตว์ได้ส่งเสริมให้ เลี้ยงโคบราห์มันเป็นพันธุ์พื้นฐานหลัก แต่มีการตื่นตัวในการเลี้ยงโคเนื้อพันธุ์ดีอื่นๆ ด้วย เช่น โคพันธุ์ตาก, โคพันธุ์กำแพงแสน, โคพันธุ์กบินทร์บุรี เป็นต้น ซึ่งใช้โคพันธุ์บราห์มันเป็นพันธุ์พื้นฐานทั้งสิ้น สำหรับโคบราห์มันในอเมริกาได้มีการปรับปรุงพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์มานาน แล้ว ในแต่ละปีเจ้าของฟาร์มโคบราห์มัน ซึ่งอยู่ในความควบคุมดูแลของสมาคมผู้บำรุงพันธุ์โคบราห์มันแห่งสหรัฐอเมริกา (AMERICAN BRAHMAN BREEDERS ASSOCIATION, ABBA) จะจัดส่งโคบราห์มันเพศผู้และเพศเมียเข้าร่วมประกวดตามงานประกวดโคที่จัดขึ้น ในรัฐต่างๆ
           
             หากโคบราห์มันของฟาร์มใด ได้รับรางวัลชนะเลิศมากๆ ก็ทำให้ฟาร์มนั้นมีชื่อเสียงมากขึ้น ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นโดยตรงจากการเข้าร่วมแข่งขันประกวดโค ฉะนั้น ทุกฟาร์มจึงพยายามปรับปรุงโคบราห์มันในฟาร์มของตนให้ดีขึ้นทั้งทางด้านพันธุ กรรม ด้านการจัดการฟาร์มหรือปัจจัยอื่นๆ  ที่เกี่ยวข้องกับการเลี้ยงโค ปัจจุบันการเลี้ยงโคเนื้อในบ้านเรานั้นได้เริ่มตื่นตัวกันมากขึ้น หน่วยราชการและเอกชนบางรายได้มีการสั่งซื้อโคเข้ามาจากต่างประเทศจำนวนมาก ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคสามารถปรับปรุงพันธุ์โค เนื้อของบ้านเราให้ดีและมีคุณภาพได้เร็วยิ่งขึ้น 


           
             จากเหตุผลดังกล่าวจะทำให้การประกวดโคใน ประเทศไทยต่อไปในอนาคตนั้นมีรูปแบบที่เป็นสากลมากขึ้น ดังนั้นเมื่อจะมีการประกวดโคเจ้าของฟาร์มแต่ละฟาร์มต้องมีการฝึกโคของตนให้ เชื่อง เพื่อสามารถบังคับให้โคเดินหรือยืนในลักษณะต่างๆ ในสนามประกวด (SHOW RING) ได้อย่างสง่างามเพื่อให้กรรมการตัดสินสามารถใช้สายตา (EYE APPRAISAL) ตรวจสอบคุณลักษณะของโคแต่ละตัวได้ชัดเจนและถูกต้อง ขณะเดียวกันผู้เข้าชมการประกวดก็จะได้เรียนรู้และรับทราบลักษณะที่ดีของโค แต่ละตัวไปพร้อมกันด้วย นอกจากการแข่งขันการประกวดโคเองแล้วผลพลอยได้ในการจัดการประกวดโคคือการ ประกวดผู้ฝึกโค (SHOWMAN) ที่มีความสามารถในการบังคับโค ซึ่งในอนาคตจะเป็นอาชีพหนึ่งได้ต่อไป
 

การฆ่าโคขุนโพนยางคำ

การฆ่าโคขุนโพนยางคำ

การเชือดก็จะเริ่มจากการใช้ปืนลมยิงที่ส่วนหัว  ให้โคสลบและไม่ทรมาน  การใช้ปืนลมถือเป็นวิธีได้รับมาตรฐานสากลในการล้มโค  เพราะไม่ทำให้โคทรมานซึ่งเมื่อโคหมดสติไปแล้ว  ก็จะตัดส่วนหัวออก ลอกหนัง  และผ่าเครื่องในออก  และตัดโคตามแนวกระดูกสันหลัง  ส่วนที่ได้ก็จะเรียกว่า ซาก  ซากที่ได้นั้นก็ไม่ได้นำไปชำแหละเป็นชิ้นส่วนต่างๆเลยทันที  ต้องนำไปเก็บไว้ในห้องเย็นเป็นเวลา 1 สัปดาห์


อาหารที่ใช้เลี้ยงก็เป็นสูตรที่ทำขึ้นจากโพนยางคำ  นอกจากนั้นก็มีรำข้าว ฟางข้าว และให้โคกินกากน้ำตาลต่างหากไม่ผสมกับอาหาร โคที่จะนำมาขุนนั้นจะต้องมีรอบอก 70 ซม. และน้ำหนักต้องไม่น้อยกว่า 400 กิโลกรัม และจะต้องทำการตอนโคให้เรียบร้อย  ที่ไม่ใช่เพศเมียเพราะจะเกิดการสูญพันธุ์ใช้ตัวเมียไว้เป็นแม่พันธุ์ จะทำการฆ่าโค 2 วันต่อสัปดาห์ คือวันอังคารและวันศุกร์

ฝึกงาน 2 นิสิตสัตวศาสตร์ ดูงาน ณ โคขุนโพนยางคำ

สหกรณ์การเลี้ยงปศุสัตว์ กรป.กลาง โพนยางคำ จำกัด
 

 ก่อตั้งเมื่อ 3 มิถุนายน 2523 สืบเนื่องจากการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคของเกษตรกรในเขต
จังหวัดสกลนครและนครพนม ของ กรป.กลาง (ซึ่งปัจจุบันคือหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา)
อีกทั้งได้รับการสนับสนุนจากส่วนต่าง ดังนี้ 
1.ศูนย์ส่งเสริมการขยายพันธุ์สัตว์ กรป.กลาง ให้การสนับสนุนด้านการผสมเทียมโค บุคลากร และ น้ำเชื้อโคพ่อพันธุ์เนื้อจากต่างประเทศ
2. รัฐบาลฝรั่งเศส โดยสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยฝ่ายวัฒนธรรมและความร่วมมือ (นายฟรังซัว แดร์โฟซ์ ผู้ประสานงาน)  ให้การสนับสนุนด้านวิชาการทุนการศึกษาอบรมแก่เจ้าหน้าที่ไทย ไปฝึกอบรมในประเทศฝรั่งเศส ด้านการผลิตเนื้อ การตัดเนื้อ การผสมเทียม ผลิตเมล็ดพืช  อาหารสัตว์ การบริหารระบบสหกรณ์  ฯลฯ ตลอดจนสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านเกษตรและสหกรณ์มาปฏิบัติงานที่สหกรณ์และสนับสนุนทุนสร้างโรงฆ่าสัตว์พร้อมอุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งรถห้องเย็นใช้ขนส่งเนื้อ จากสหกรณ์ฯโพนยางคำ สกลนครไปยังศูนย์ตัดแต่งและจำหน่ายที่กรุงเทพ
3.รัฐบาลออสเตรเลียโดยAsian Food Handling Bureau ให้การสนับสนุนอุปกรณ์ห้องเย็นบ่มซากห้องที่ 1 (ประสานงานโดย ดร.วิพิชญ์ ไชยศรีสงคราม) 
4.รัฐบาลเยอรมัน ให้การสนับสนุนอุปกรณ์ห้องเย็นบ่มซากห้องที่ 2
(ประสานงานโดยพลตรีชัยพฤกษ์ แก้วพรหมมาลย์) 
 5.บริษัทเนสท์เล่(ประเทศไทย) จำกัด  ให้ทุนการศึกษาอัตราการเจริญเติบโตและปริมาณการผลิตน้ำนมของโคลูกผสมสายพันธุ์ซิมเมนตัล





หลักในการคัดเลือกโคมาขุน

1.พันธุ์โคไม่นิยมนำโคพื้นเมืองมาขุนขายเนื่องจากตัวเล็ก โตช้า นิยมโคลูกผสมที่มีเลือดพันธุ์แท้หรือพันธุ์ต่างประเทศ 50 - 75 เปอร์เซ็นต์ เช่นลูกผสมอเมริกันบราห์มันกับพื้นเมือง ลูกผสมบรามันห์พื้นเมืองกับชาโรเล่ย์ ลูกผสมบราทันห์กับชาโรเล่ย์
2.เพศต้องเป็นเพศผู้ที่ผ่านการตอน เนื่องจากเพศผู้จะโตเร็วกว่าเพศเมียจึงนิยมใช้เพศผู้
3.อายุโคที่อายุน้อยใช้ระยะเวลาขุนนานกว่าโคอายุมาก 

4. แหล่งที่จะหาซื้อโคมาขุน อาจจะได้จากคอกของผู้เลี้ยงเอง โดยเลี้ยงแม่เพื่อผลิตลูกเอง หรือซื้อจากผู้ผลิตลูกโคขาย หาซื้อตามตลาดนัดโคกระบือ หรือซื้อจากผู้เลี้ยงรายย่อยก็ได้ โดยที่ผู้ซื้อจะต้องมีความชำนาญในการดูลักษณะโคเป็นอย่างดี
5. อาหารโคขุน ส่วนมากจะเลี้ยงด้วยอาหารหยาบแล้วเสริมด้วยอาหารข้น อาหารหยาบจะใช้หญ้าสดเป็นอาหารหลักหรืออาจจะเป็นหญ้าหมัก ต้นข้าวโพด เปลือกถั่ว เปลือกสับปะรด ส่วนอาหารข้นจะนำวัตถุดิบต่าง ๆ มาผสมกัน แต่ต้องมีคุณภาพดี มีโปรตีนและพลังงานตามที่โคต้องการ


6. การจัดการด้านอื่น ๆ ให้ปฏิบัติดังนี้
    6.1 กักสัตว์ดูอาการในคอกกักกันอย่างน้อย 14 วัน
    6.2 จัดโคขนาดใกล้เคียงกันให้อยู่ในคอกขุนเดียวกัน (ภาพที่ 8.12)
    6.3 ให้วัคซีนป้องกันโรคสำคัญๆ เช่น ปากและเท้าเปื่อย คอบวม แอนแทรกซ์หรือกาลี
    6.4 ถ่ายพยาธิทั้งตัวกลมตัวแบนหลังให้วัคซีน 1 สัปดาห์
    6.5 กำจัดพยาธิภายนอก เช่น เห็บ
    6.6 โคผู้จะต้องเป็นโคผู้ตอน จะเชื่อง สะสมไขมันได้มาก
    6.7 การขุน ขึ้นกับอายุและสภาพของสัตว์ โครุ่น ใช้เวลาขุนนานกว่าประมาณ 6 – 8 เดือน โคอายุมาก โคผอม ใช้เวลาขุนสั้นกว่า 3 –6 เดือน
    6.8 การให้อาหารในระยะขุน ช่วงแรกให้อาหารข้นโปรตีน 8 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 3 ส่วน อาหารหยาบ 7 ส่วน ช่วงกลางอาหารข้น 5 ส่วน อาหารหยาบ 5 ส่วน และช่วงสุดท้าย อาหารข้น 7 ส่วน อาหารหยาบ 3 ส่วน
7. ลักษณะโคขุนที่พร้อมส่งตลาด โคขุนที่พร้อมจะส่งตลาดจะต้องมีลักษณะดังนี้
    7.1 กล้ามเนื้อเจริญเติบโตเต็มที่
    7.2 มีการผสมไขมันทั้งแทรกอยู่ในเนื้อและหุ้มอยู่นอกกล้ามเนื้อ
    7.3 โคจะมีอัตราการเจริญเติบโตน้อยลงถึงแม้จะได้อาหารมาก
    7.4 ให้จับโคขุนส่งตลาดได้เมื่อสภาพของโคสมบูรณ์และเติบโตเต็มที่



การเลี้ยงโคขุน

   การเลี้ยงโคขุน หมายถึง การเลี้ยงโคให้เจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยได้รับค่าอาหารที่ค่อนข้างดีอย่างเต็มที่ ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง คือนอกจากจะให้โคกินอาหารหยาบ (หญ้าหรือฟาง) แล้วยังมีการให้กินอาหารข้น (อาหารเสริม) เพิ่มเติมอีกด้วย ทำให้โคเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ได้เนื้อที่มีคุณภาพดี

ข้อควรพิจารณาก่อนตัดสินใจเลี้ยงโคขุน
          การที่จะเลี้ยงโคขุนเพื่อให้ได้กำไรนั้น ท่านจะต้องพิจารณาและตอบคำถามต่าง ๆ ต่อไปนี้ ว่าท่านจะสามารถแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้หรือไม่ ถ้าท่านแก้ไขปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ได้ ท่านก็จะสามารถเลี้ยงโคขุนได้โดยไม่ขาดทุนคือ

          1. ท่านรักโคหรือไม่
          2. มีปัญหาทางสังคมหรือไม่
          3. มีทุนพอหรือไม่
          4. หาโคที่ดีมาขุนได้หรือไม่
          5. มีปัญหาเรื่องอาหารโคหรือไม่
          6. มีความรู้ความเข้าใจในการเลี้ยงดูโคขุนมากพอหรือไม่
          7. มีเวลาดูแลกิจการพอหรือไม่
          8. มีลู่ทางเรื่องตลาดหรือยัง 

ลำดับขั้นตอนในการดำเนินงานเลี้ยงโคขุน

          ผู้ที่จะเลี้ยงโคขุนควรดำเนินตามขั้นตอนต่อไปนี้
          1.พิจารณาถึงความเป็นไปได้หรือความพร้อมของตนเองดังกล่าวแล้ว
          2.ศึกษาวิธีการเลี้ยงโดยอ่านจากเอกสารต่าง ๆ หรือเข้ารับการฝึกอบรม ซึ่งหน่วยงานราชการต่าง ๆ จัดขึ้น และควรจะไปเยี่ยมชมกิจการของเกษตรกรที่เลี้ยงโคขุนอยู่แล้ว
          3.รวมกลุ่มผู้สนใจ การเลี้ยงโคขุนสำหรับเกษตรกรรายย่อยและรายขนาดกลางจะได้ผลดีต่อเมื่อมีการ รวมเป็นกลุ่มก้อน ซึ่งจะทำให้สะดวกและประหยัดในหลาย ๆ ด้าน เช่น การจัดซื้อลูกโคมาขุน การจัดซื้ออาหารและการดำเนินการเรื่องตลาด เพราะผู้ซื้อย่อมต้องการให้มีโคขุนป้อนตลาดอย่างต่อเนื่องและคุณภาพสม่ำเสมอ
          4.ติดต่อตลาดซึ่งควรทำในนามกลุ่ม
          5.การเตรียมเงินทุน
          6.จัดเตรียมแปลงหญ้าต้องลงมือปลูกหญ้าก่อนที่จะนำโคเข้าคอกขุนประมาณ 2 เดือน
          7.สร้างคอก
          8.จัดเตรียมอาหารข้น
          9.ซื้อโคเข้าคอก
          10.ลงมือเลี้ยงโคขุน
          11.วางแผนระยะยาว กล่าวคือคาดว่าในอนาคตจะมีผู้เลี้ยงโคขุนกันมากขึ้น คงจะหาซื้อลูกโคขุนได้ยากขึ้น หรือซื้อได้ในราคาแพง จึงควรจะวางแผนระยะยาว โดยหาซื้อแม่โคมาเลี้ยงไว้บ้าง หรือหาลู่ทางสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องกับผู้เลี้ยงแม่โค 



ประเภทและธุรกิจการเลี้ยงโคขุน

          ธุรกิจการเลี้ยงโคขุนแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ
          1. เลี้ยงแม่โคเพื่อผลิตลูกขาย ให้กับผู้เลี้ยงโคขุน การเลี้ยงโคประเภทนี้ ผู้เลี้ยงจะต้องเลี้ยงแม่โคเพื่อใช้ผสมกับพ่อโคพันธุ์ดี หรือผสมเทียมโดยใช้น้ำเชื้อของพ่อโคเนื้อพันธุ์ดี เพื่อผลิตลูกโค เพศผู้ที่มีลักษณะเหมาะสมต่อการขุน ส่วนลูกโคตัวเมียผู้เลี้ยงอาจจะคัดเอาไว้เป็นแม่ทดแทนในฝูงต่อไป
          2. เลี้ยงโคขุน ผู้เลี้ยงจะหาซื้อโครุ่นเพศผู้จากแหล่งต่าง ๆ มาขุนอาจเป็นการขุนแบบโคมัน ขุนลูกโคอ่อน หรือขุนโคขุนคุณภาพสูง
          3. เลี้ยงแม่โคผลิตลูก และขุนเอง เป็นการเลี้ยงที่รวมเอาธุรกิจแบบที่ 1 และ 2 มารวมกัน เมื่อลูกโคเพศผู้เกิดขึ้นก็จะนำมาขุนส่งโรงฆ่า 

วิธีการขุนโคเนื้อ

          วิธีขุนโค แบ่งออกเป็น 2 วิธี ตามการให้อาหาร คือ
          1. การขุนด้วยการให้อาหารหยาบเพียงอย่างเดียว โดยจะต้องได้รับหญ้าสดที่มีคุณภาพดี อาจตัดให้กินหรือปล่อยเลี้ยงในทุ่งหญ้า การขุนวิธีนี้ไม่แตกต่างกับการเลี้ยงโคเนื้อทั่ว ๆ ไปมากนัก จะต้องใช้ระยะเวลานานในการเพิ่มน้ำหนักตัวตามต้องการ อีกทั้งยังได้เนื้อที่ไม่ค่อยมีคุณภาพดีเท่าที่ควรแต่ก็อาจเหมาะสมกับความ ต้องการของตลาดในท้องถิ่น ซึ่งไม่ต้องการบริโภคเนื้อที่มีคุณภาพสูงมากนัก และค่าใช้จ่ายในการขุนวิธีนี้ก็ยังต่ำอีกด้วย
          2. การขุนด้วยอาหารหยาบเสริมด้วยอาหารข้น เป็นธุรกิจการขุนโคที่ต้องลงทุนสูง มุ่งให้ได้เนื้อโคขุนคุณภาพดี ส่งขายให้กับตลาดเนื้อชั้นสูง แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ตามอายุและคุณภาพเนื้อที่ได้ดังนี้ คือ
              2.1 การขุนลูกโคอ่อน เพื่อส่งโรงฆ่าเมื่ออายุน้อย ส่วนใหญ่นิยมใช้ลูกโคนมเพศผู้ เริ่มขุนตั้งแต่ลูกโคอายุได้ 1 สัปดาห์ หรือหลังจากได้รับนมน้ำเหลืองตามกำหนดแล้ว อาหารที่ใช้ลงทุน จะใช้หางนมผงเป็นหลัก ใช้เวลาขุนจนลูกโคมีอายุประมาณ 6-8 เดือน โคจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วได้เนื้อที่มีคุณภาพดี เมื่อส่งโรงฆ่า
              2.2 การขุนโคที่เริ่มขุนเมื่อโคมีอายุประมาณ 1 1/2 ปี หรือมีน้ำหนักประมาณ 200-250 กก. ใช้ระยะเวลาขุนประมาณ 6 เดือน ให้ได้น้ำหนัก 400-450 กก. แล้วส่งโรงฆ่า เป็นรูปแบบการขุนที่นิยมกันแพร่หลายในปัจจุบันส่วนใหญ่นิยมใช้โคเนื้อลูกผสม ที่ทดสอบแล้วว่ามีการเจริญเติบโตดี คุณภาพเนื้อที่ได้จะดีกว่าการขุนในรูปแบบอื่นมาก และเกษตรกรหันมายึดเป็นอาชีพกันมากขึ้นในปัจจุบัน
              2.3 การขุนโคที่มีอายุมาก หรือโคที่โตเต็มวัยแล้ว ส่วนใหญ่จะเป็นโคที่ปลดจากการใช้แรงงาน ซึ่งมีอายุมักจะไม่ต่ำกว่า 5 ปี เป็นการขุนเพื่อเพิ่มกล้ามเนื้อเพียงบางส่วน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นการเพิ่มไขมันหุ้มซาก โดยไม่สนใจไขมันแทรกในเนื้อ จะใช้เวลาในการขุนประมาณ 3 เดือน โคที่ได้จากการขุนประเภทนี้โดยทั่วไปนิยมเรียกกันว่า "โคมัน"


ประเพณีสี่จอบ

        

            งานประเพณี 4 จอบ ได้เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2526 มีสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตร 4 สถาบันคือ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้มีการประชุมร่วมกัน เพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดี เชื่อมความสามัคคี รวมทั้งการแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเกษตร รวมไปถึงการถ่ายทอดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นที่แต่ละสถาบันที่ตั้งอยู่ให้แก่ เพื่อนต่างสถาบัน โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและการเกษตรที่ยั่งยืน อันเป็นองค์ประกอบสำคัญในการบูรณาการ จึงเป็นที่มาของงาน" กีฬา 4 จอบ "ซึ่งครั้งที่ 1 เริ่มขึ้นโดย คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพ และมีการสับเปลี่ยนกันเป็นเจ้าภาพเรื่อยมา
             
            รูปแบบของกิจกรรมเป็นการแข่งขันกีฬาสากล และกีฬาทักษะทางการเกษตร กีฬาพื้นบ้าน เพื่อสร้างความสนุกสนานหลากหลายรูปแบบ ต่อมาได้มีการพัฒนารูปแบบเพื่อความเหมาะสมโดยการลดกีฬาบางประเภทลง โดยเฉพาะกีฬาสากล อย่าง ฟุตบอล วอลเล่ย์บอล บาสเกตบอล ตระกร้อ และได้มีการเพิ่มกีฬาทักษะทางการเกษตรขึ้นแทน ซึ่งกีฬาทักษะทางการเกษตรได้แก่ การแข่งขันติดตา ต่อกิ่ง แข่งตอนสุกร ตอนไก่ แข่งรีดนมวัว แข่งขันวิเคราะห์ธาตุอาหารของพืชและดิน รวมทั้งวิเคราะห์โรคพืช ทั้งนี้รวมไปถึงการวิเคราะห์ธาตุอาหารสัตว์ ซึ่งเป็นการนำเอาความรู้ทางด้านการเกษตรที่ได้ร่ำเรียน มาปฏิบัติจริง นอกจากนี้ยังมีการเสริมกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ กิจกรรมการออกค่ายอาสาและกิจกรรมทัศนศึกษาในสถาบันที่เป็นเจ้าภาพ ซึ่งนอกจากจะสร้างความสัมพันธ์อันดีให้แก่เพื่อนพ้องทางการเกษตรด้วยกันเอง เท่านั้น ยังเป็นการถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ไปยังสังคมอีกด้วย ดังนั้นต่อมาจึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก "กีฬา 4 จอบ" เป็น "ประเพณี 4 จอบ" เนื่องจากไม่เน้นการแข่งขันกีฬาเพื่อการแพ้ หรือชนะ
             
            ความหมายของคำว่า "4 จอบ " ในครั้งแรกนั้นหมายถึง คณะเกษตร 4 สถาบันซึ่งร่วมกันก่อตั้ง แต่ต่อมาได้มีการตกลงร่วมกันให้คำว่า 4 จอบ นั้นหมายถึง 4 ภาคของประเทศไทย คือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคใต้ เพื่อจะได้หมายรวมถึงการจัดงานร่วมกันของนักศึกษาจากสถาบันด้านวิชาการเกษตร ทั่วประเทศไทยอย่างแท้จริง ซึ่งต่อมาสถาบันการศึกษาทางด้านการเกษตรได้เข้ามาร่วมการจัดกิจกรรม งานประเพณี 4 จอบ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันมีภาคีรวมแล้ว 11 สถาบัน งานประเพณี 4 จอบ ได้มีการกำหนดให้มีการจัดงานขึ้นทุกปี โดยแต่ละสถาบันเป็นเจ้าภาพหมุนเวียนกันเรื่อยมาโดยมีสถาบันที่เข้าร่วมคือ
รวมทั้งสิ้น 12 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ