ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blogger รอบรู้เรื่องโคเนื้อ - โคนม ขอให้มีความสุขกับการศึกษาความรู้นะค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สายพันธุ์โคนมเขตหนาว

พันธุ์โคนม
             ในประเทศไทยได้มีการนำเข้าพันธุ์โคนมทั้งที่อาศัยอยู่ในเขตหนาว และพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเขตร้อนหรือแถบเอเชีย เพื่อนำมาปรับปรุง พัฒนาสายพันธุ์ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
พันธุ์โคนมเขตหนาว
             โคนมพันธุ์โฮนสไตน์ฟรีเชี่ยน (Holstein Friesian Cow) จัดเป็นโคพันธุ์หนัก โคเพศเมียโตเต็มที่มีน้ำหนัก 680 กก.โคเพศผู้โตเต็มที่มีน้ำหนัก 997–1,087 กก. ให้ผลผลิตน้ำนม 7,542 กก./ปี/ตัว ไขมันในน้ำนมเฉลี่ย 3.64% (ตารางที่ 2-1) เป็นโคที่ทนต่ออากาศร้อน และความเครียดได้ดี โคจะมีสีดำขาว เป็นลักษณะเด่นมักเรียกโคพันธุ์นี้ว่า ขาว-ดำ มีนิสัยเชื่องไม่ตื่นตกใจง่าย กระตือรือร้นสนใจอยู่ตลอดเวลา


โคนมพันธุ์แฮร์ชาย (Ayrshire Cow)โคนมพันธุ์แฮร์ชาย มีลักษณะสีน้ำตาลแดงสลับขาว มีน้ำหนักตัวเมื่อโตเต็มที่ ในโคเพศเมีย หนัก 544- 680 กก. ส่วนโคเพศผู้มีน้ำหนัก 838 กก. การให้นม 5,848 กก./ปี/ตัว ไขมันน้ำนม 3.95 %


โคนมพันธุ์มิวค์กิ้ง ฮอตฮอร์น (Milking Shorthorn Cow) มีต้นกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ จัดเป็นพันธุ์กึ่งเนื้อกึ่งนม โคเพศเมียโตเต็มที่มีน้ำหนักตัว 544-680 กก. โคเพศผู้มีน้ำหนัก 906 กก. มีอัตราการให้นม 5,326 กก./ปี/ตัว เปอร์เซ็นต์ไขมัน 3.65%



           โคนมพันธุ์บราวสวิต (Brown Swiss Cow) เป็นโคนมพันธุ์ใหญ่มีขนาดใหญ่ โคเพศเมียโตเต็มที่ มีน้ำหนัก 589-815 กก. ส่วนโคเพศผู้มีน้ำหนัก 815-1,178 กก. มีสีน้ำตาลอ่อนถึงสีน้ำตาลเข้ม การให้น้ำนมเฉลี่ย 6,155 กก./ปี/ตัว มีเปอร์เซ็นต์ไขมัน 4.08%


          โคนมพันธุ์เกอร์นซี (Guernsey Cow) โคนมพันธุ์เกอร์นซีจัดเป็นโคที่มีขนาดใหญ่ โคเพศเมียมีน้ำหนัก 362-725 กก. โคเพศผู้มีน้ำหนัก 566-1,016 กก. มีลำตัวสีน้ำตาลเข้มแกมเหลือง สลับขาว การให้น้ำนมเฉลี่ย 5,369 กก./ปี/ตัว มีเปอร์เซ็นต์ไขมัน เฉลี่ย 4.58%  



เทคนิคการเลี้ยงโคนม

            อาชีพการเลี้ยงโคนม กล่าวได้ว่าเป็นอาชีพที่ค่อนข้างใหม่สำหรับเกษตรกรบ้านเรา   แต่ตามความเป็นจริงประเทศเราได้เคยสั่งโคนมพันธุ์ต่างประเทศเข้ามาทดลองเลี้ยงเมื่อกว่า   50  ปีล่วงมาแล้ว   แต่การเริ่มต้นเลี้ยงในครั้งแรกประสบปัญหาบางประการ   จึงนับว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2508  เป็นต้นมา  อาชีพการเลี้ยงโคนมจึงได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งและเริ่มรู้จักแพร่หลายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  อย่างไรก็ตามอาชีพการเลี้ยงโคนมอาจยึดเป็นอาชีพหลักได้หรืออาจเป็นอาชีพรองอาชีพหนึ่งที่เกษตรกรควรจะทำควบคู่กันไปกับอาชีพอื่น  เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุดทั้งทางตรงและทางอ้อม
            1.การเลี้ยงโคนมมีความจำเป็นต้องคัดเลือกโคนมให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ลักษณะที่ดีของโคนมและคัดโคที่ดี ๆ ไว้ทำพันธุ์จะพิจารณาตามลักษณะดังนี้
            ลักษณะทั่วไป ลักษณะถูกต้องตรงตามพันธุ์ ร่างกายสมบูรณ์ สัดส่วนถูกต้อง หัวไหล่เรียบติดตัวแน่น หลังตรง แผ่นหลังกว้าง บั้นท้ายยาว กระดูกเชิงกรานไม่โปน หางยาว ตรงเรียว ขาตรงแข็งแรง ข้อต่อไม่โปน เท้ากีบสั้นกลม ขาหน้ายาวพอประมาณ ยืนตรงได้เนื้อที่ ไม่เขว
            ลักษณะการให้นม คอยาว บาง ค่อย ๆ ลาดกว้างไปหาไหล่ หัวไหล่แหลม เล็ก บาง ซี่โครงขยายกว้างและยาว ช่องท้องมีความกว้างและมีความจุมาก บั้นท้ายบาง เรียบ มองจากด้านหลังจะขยายกว้างเป็นช่องสำหรับเต้านม ผิวหนังบางและยืดหยุ่น ความจุในการกินอาหาร ท้องมีความยาว ลึก และกว้างมาก หน้าอกมีความกว้าง ลึกกลมกลืนกับกระดูกซี่โครง
            ระบบเต้านม เต้านมสมดุลกันทั้งสี่เต้า เต้านมกว้างและลึกจับติดกับแผ่นท้องแน่น ด้านข้างไม่มีร่องแบ่งกล้ามเนื้อ นมนิ่ม เต้านมด้านหน้ายาวพอประมาณ จับแผ่นท้องแน่นมีขนาดเท่ากันทั้งสองข้าง เต้านมด้านหลังมีร่องลึก มองจากด้านหลังเห็นกลีบร่องสูง เต้านมค่อนข้างกลม จับติดกับแผ่นท้องแน่น หัวนมมีขนาดเท่ากันทั้ง 4 เต้า หัวนมอยู่ตรงกลางเต้า ลักษณะเป็นทรงกลมยาว เส้นเลือดไปเลี้ยงเต้านมเห็นชัด เส้นใหญ่และยาว โคนมที่ลักษณะดี เจริญเติบโตเร็ว ร่างกายสมบูรณ์ย่อมให้ผลผลิตสูง โคพันธุ์ผสมโฮสไตน์ฟรีเซี่ยน เป็นพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เป็นที่นิยมเลี้ยงกัน

 
            2.คอยสังเกตโคที่เกษตรเลี้ยงอยู่สม่ำเสมอเพื่อให้โคนมนั้นมีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ แต่บ่อยครั้ง เกษตรผู้เลี้ยงขาดการดูแลเอาใจใส่โคนมที่เลี้ยงอยู่ทำให้โคนมเป็นโรค เช่น โรคเต้านมอักเสบ กีบ อักเสบ เห็บโค และ พยาธิในโค หากเกิดโรคในแต่ละครั้งจะมีอาการรุนแรงจึงต้องใช้ยาปฎิชีวนะฉีดให้กับโค เพื่อรักษาอาการดั่งกล่าว แต่ โรคเต้านมอักเสบหากเป็นอาการที่ไม่รุนแรง เกษตรผู้เลี้ยงโคนมจะใช้น้ำอุ่น ประคบบริเวณเต้านมที่เกิดการอักเสบ 3 – 4 ครั้ง อาการเต้านมก็จะค่อยๆ ดีขึ้น เกษตรที่รีดนมโคที่มีโรคเต้านมอักเสบนั้นไม่สามารถส่งน้ำนมไปให้สหกรณ์ได้ แต่สามารถนำมาเลี้ยงลูกโคได้โดยไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใด และ ในบางครั้งเกษตรผู้เลี้ยงโคนมยังต้องฉีด วิตามิน และ แคลเซียมให้กับโคนมเพื่อป้องกันการขาดวิตามิน และ แคลเซียม


การให้คะแนนร่างกายโคนม

          ในการเลี้ยงโคสาวและโครีดนม จะให้อาหารตามคะแนนร่างกายและปริมาณน้ำนม ประกอบกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอธิบายคะแนนร่างกายโคนมก่อน   คะแนน ร่างกายโคนม( Body condition score , BCS) เป็นตัววัดความสมบูรณ์ของร่างกายโคนม ซึ่งความสมบูรณ์ จะให้เป็นระดับคะแนน คะแนนต่ำมากหมายถึงโคผอมมาก คะแนนสูงมาก หมายถึงโคอ้วนมาก
การให้คะแนนร่างกายโค ในแต่ละประเทศจะมีช่วงของคะแนนไม่เท่ากันหรือไม่เหมือนกัน เช่น
          ประเทศอังกฤษ ใช้ช่วงคะแนน 0-6
          ประเทศออสเตรเลีย ใช้ช่วงคะแนน 1-8
          ประเทศนิวซีแลนด์ ใช้ช่วงคะแนน 1-10
          ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ช่วงคะแนน 1-5
          ใน การให้คะแนนตามระบบของประเทศต่าง ๆ จะใช้การดู และใช้มือคลำ เพื่อสังเกตไขมันที่สะสมใต้ผิวหนังในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโค ได้แก่ บริเวณกระดูกซี่โครง บริเวณกระดูกเอว กระดูกสันหลัง แอ่งกระดูกก้นกบใต้โคนหาง และโคนหาง แล้วทำการให้คะแนน การให้คะแนนแบบนี้ เป็นการให้คะแนนตามความอ้วนผอมของโค ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นลักษณะโคนมที่ดี ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน

ระบบ การให้คะแนนร่างกายโคนม ที่ใช้ในประเทศไทย มี 2 ระบบ ได้แก่ ระบบจาก ประเทศออสเตรเลีย ใช้ช่วงคะแนน 1-8 และระบบจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ช่วงคะแนน 1-5 ในที่นี้จะกล่าวถึงการให้คะแนนโคนมในระบบ คะแนน 1-5 

การให้คะแนนระบบ 1-5
การให้คะแนนระบบ 1-5 ใช้กันในประเทศสหรัฐอเมริกา คิดขึ้นโดย E.E.Wildman คะแนน 1 เป็นโคที่ผอมมาก ส่วนคะแนน 5 เป็นโคที่อ้วนมาก
 คะแนน 1
เป็น สภาพที่โคผอมมาก สังเกตได้จากบริเวณโคนหางจะเป็นหลุมลึก กระดูกเชิงกรานและปีกกระดูกสันหลังเป็นร่องและเห็นชัดเจน สามารถสัมผัสได้ง่าย ไม่มีไขมันปกคลุม ทั้งสองข้างของแนวกระดูกสันหลังจะเห็นเป็นแอ่งลึก 


คะแนน 2
เป็นสภาพที่โคผอม หลุมบริเวณโคนหางตื้นขึ้น ไขมันเริ่มมีการสะสมเพิ่มขึ้นบริเวณโคนหางนี้และบริเวณปุ่มกระดูกเชิงกราน ซึ่งพอสัมผัสได้ กระดูกเชิงกรานยังเด่นชัด แต่เมื่อลูบดูจะไม่ถึงขั้นหนังติดกระดูก บริเวณปลายของปีกกระดูกสันหลังมีลักษณะกลมมน และยังสัมผัสได้จากการออกแรงกดเล็กน้อย 

BCS=2

คะแนน 3

เป็นสภาพที่โคไม่อ้วนไม่ผอม ปานกลาง ไม่มีหลุมบริเวณโคนหาง จะสัมผัสได้ว่ามีไขมันมาปกคลุมบริเวณนี้มากขึ้น ปุ่มกระดูกเชิงกรานจะเริ่มมองเห็นไม่เด่นชัด แต่ยังพอสัมผัสได้โดยการออกแรงกด มีไขมันมาปกคลุมบริเวณปีกกระดูกสันหลังมากขึ้น แอ่งลึกระหว่างปุ่มกระดูกเชิงกรานและโคนหางเริ่มมีไขมันพอกหนา 

 คะแนน 4
เป็นสภาพที่โคเริ่มอ้วน จะพบว่ามีไขมันพอกเต็มบริเวณโคนหาง ปุ่มกระดูกเชิงกรานกลมมนมากมีไขมันพอกแต่ก็ยังสามารถสัมผัสได้จากการออกแรง กดมาก ๆ ปีกกระดูกสันหลังจะมองไม่เห็น 

BCS=4
    คะแนน 5
เป็นสภาพที่โคอ้วนมาก จะพบว่ามีไขมันมาพอกบริเวณโคนหางมากจนเห็นว่าโคนหางจมอยู่ในไขมันที่พอก ปุ่มกระดูกเชิงกรานและปีกกระดูกสันหลังจะมองไม่เห็น หรือแม้กระทั่งออกแรงกดลงไป เพราะจะปกคลุมไปด้วยไขมัน

BCS=5
การให้คะแนนร่างกายโคนมระบบ 1-5 ในทางปฏิบัติ

ใน ทางปฏิบัติ การให้คะแนนระบบ 1-5 ตามแบบของประเทศสหรัฐอเมริกา นักวิชาการหลาย ๆ ท่าน ได้แตกย่อยคะแนนออกไปอีก เป็นระดับจุดทศนิยม เพื่อความละเอียดมากยิ่งขึ้น เป็น .25 , .5 และ .75 ซึ่งการให้คะแนน ได้ทำเป็นแบบแผนที่แน่นอน เข้าใจและสามารถให้คะแนนได้ง่าย โดยพิจารณาดังนี้ คือ