ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blogger รอบรู้เรื่องโคเนื้อ - โคนม ขอให้มีความสุขกับการศึกษาความรู้นะค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

การให้คะแนนร่างกายโคนม

          ในการเลี้ยงโคสาวและโครีดนม จะให้อาหารตามคะแนนร่างกายและปริมาณน้ำนม ประกอบกัน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอธิบายคะแนนร่างกายโคนมก่อน   คะแนน ร่างกายโคนม( Body condition score , BCS) เป็นตัววัดความสมบูรณ์ของร่างกายโคนม ซึ่งความสมบูรณ์ จะให้เป็นระดับคะแนน คะแนนต่ำมากหมายถึงโคผอมมาก คะแนนสูงมาก หมายถึงโคอ้วนมาก
การให้คะแนนร่างกายโค ในแต่ละประเทศจะมีช่วงของคะแนนไม่เท่ากันหรือไม่เหมือนกัน เช่น
          ประเทศอังกฤษ ใช้ช่วงคะแนน 0-6
          ประเทศออสเตรเลีย ใช้ช่วงคะแนน 1-8
          ประเทศนิวซีแลนด์ ใช้ช่วงคะแนน 1-10
          ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ช่วงคะแนน 1-5
          ใน การให้คะแนนตามระบบของประเทศต่าง ๆ จะใช้การดู และใช้มือคลำ เพื่อสังเกตไขมันที่สะสมใต้ผิวหนังในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายโค ได้แก่ บริเวณกระดูกซี่โครง บริเวณกระดูกเอว กระดูกสันหลัง แอ่งกระดูกก้นกบใต้โคนหาง และโคนหาง แล้วทำการให้คะแนน การให้คะแนนแบบนี้ เป็นการให้คะแนนตามความอ้วนผอมของโค ไม่เกี่ยวข้องกับการเป็นลักษณะโคนมที่ดี ซึ่งเป็นคนละเรื่องกัน

ระบบ การให้คะแนนร่างกายโคนม ที่ใช้ในประเทศไทย มี 2 ระบบ ได้แก่ ระบบจาก ประเทศออสเตรเลีย ใช้ช่วงคะแนน 1-8 และระบบจาก ประเทศสหรัฐอเมริกา ใช้ช่วงคะแนน 1-5 ในที่นี้จะกล่าวถึงการให้คะแนนโคนมในระบบ คะแนน 1-5 

การให้คะแนนระบบ 1-5
การให้คะแนนระบบ 1-5 ใช้กันในประเทศสหรัฐอเมริกา คิดขึ้นโดย E.E.Wildman คะแนน 1 เป็นโคที่ผอมมาก ส่วนคะแนน 5 เป็นโคที่อ้วนมาก
 คะแนน 1
เป็น สภาพที่โคผอมมาก สังเกตได้จากบริเวณโคนหางจะเป็นหลุมลึก กระดูกเชิงกรานและปีกกระดูกสันหลังเป็นร่องและเห็นชัดเจน สามารถสัมผัสได้ง่าย ไม่มีไขมันปกคลุม ทั้งสองข้างของแนวกระดูกสันหลังจะเห็นเป็นแอ่งลึก 


คะแนน 2
เป็นสภาพที่โคผอม หลุมบริเวณโคนหางตื้นขึ้น ไขมันเริ่มมีการสะสมเพิ่มขึ้นบริเวณโคนหางนี้และบริเวณปุ่มกระดูกเชิงกราน ซึ่งพอสัมผัสได้ กระดูกเชิงกรานยังเด่นชัด แต่เมื่อลูบดูจะไม่ถึงขั้นหนังติดกระดูก บริเวณปลายของปีกกระดูกสันหลังมีลักษณะกลมมน และยังสัมผัสได้จากการออกแรงกดเล็กน้อย 

BCS=2

คะแนน 3

เป็นสภาพที่โคไม่อ้วนไม่ผอม ปานกลาง ไม่มีหลุมบริเวณโคนหาง จะสัมผัสได้ว่ามีไขมันมาปกคลุมบริเวณนี้มากขึ้น ปุ่มกระดูกเชิงกรานจะเริ่มมองเห็นไม่เด่นชัด แต่ยังพอสัมผัสได้โดยการออกแรงกด มีไขมันมาปกคลุมบริเวณปีกกระดูกสันหลังมากขึ้น แอ่งลึกระหว่างปุ่มกระดูกเชิงกรานและโคนหางเริ่มมีไขมันพอกหนา 

 คะแนน 4
เป็นสภาพที่โคเริ่มอ้วน จะพบว่ามีไขมันพอกเต็มบริเวณโคนหาง ปุ่มกระดูกเชิงกรานกลมมนมากมีไขมันพอกแต่ก็ยังสามารถสัมผัสได้จากการออกแรง กดมาก ๆ ปีกกระดูกสันหลังจะมองไม่เห็น 

BCS=4
    คะแนน 5
เป็นสภาพที่โคอ้วนมาก จะพบว่ามีไขมันมาพอกบริเวณโคนหางมากจนเห็นว่าโคนหางจมอยู่ในไขมันที่พอก ปุ่มกระดูกเชิงกรานและปีกกระดูกสันหลังจะมองไม่เห็น หรือแม้กระทั่งออกแรงกดลงไป เพราะจะปกคลุมไปด้วยไขมัน

BCS=5
การให้คะแนนร่างกายโคนมระบบ 1-5 ในทางปฏิบัติ

ใน ทางปฏิบัติ การให้คะแนนระบบ 1-5 ตามแบบของประเทศสหรัฐอเมริกา นักวิชาการหลาย ๆ ท่าน ได้แตกย่อยคะแนนออกไปอีก เป็นระดับจุดทศนิยม เพื่อความละเอียดมากยิ่งขึ้น เป็น .25 , .5 และ .75 ซึ่งการให้คะแนน ได้ทำเป็นแบบแผนที่แน่นอน เข้าใจและสามารถให้คะแนนได้ง่าย โดยพิจารณาดังนี้ คือ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น