ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blogger รอบรู้เรื่องโคเนื้อ - โคนม ขอให้มีความสุขกับการศึกษาความรู้นะค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เทคนิคการเลี้ยงโคนม

            อาชีพการเลี้ยงโคนม กล่าวได้ว่าเป็นอาชีพที่ค่อนข้างใหม่สำหรับเกษตรกรบ้านเรา   แต่ตามความเป็นจริงประเทศเราได้เคยสั่งโคนมพันธุ์ต่างประเทศเข้ามาทดลองเลี้ยงเมื่อกว่า   50  ปีล่วงมาแล้ว   แต่การเริ่มต้นเลี้ยงในครั้งแรกประสบปัญหาบางประการ   จึงนับว่ายังไม่ประสบผลสำเร็จจนกระทั่งเมื่อปี พ.ศ. 2508  เป็นต้นมา  อาชีพการเลี้ยงโคนมจึงได้ถูกฟื้นฟูขึ้นมาอีกครั้งและเริ่มรู้จักแพร่หลายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน  อย่างไรก็ตามอาชีพการเลี้ยงโคนมอาจยึดเป็นอาชีพหลักได้หรืออาจเป็นอาชีพรองอาชีพหนึ่งที่เกษตรกรควรจะทำควบคู่กันไปกับอาชีพอื่น  เพื่อให้ได้รับประโยชน์มากที่สุดทั้งทางตรงและทางอ้อม
            1.การเลี้ยงโคนมมีความจำเป็นต้องคัดเลือกโคนมให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ลักษณะที่ดีของโคนมและคัดโคที่ดี ๆ ไว้ทำพันธุ์จะพิจารณาตามลักษณะดังนี้
            ลักษณะทั่วไป ลักษณะถูกต้องตรงตามพันธุ์ ร่างกายสมบูรณ์ สัดส่วนถูกต้อง หัวไหล่เรียบติดตัวแน่น หลังตรง แผ่นหลังกว้าง บั้นท้ายยาว กระดูกเชิงกรานไม่โปน หางยาว ตรงเรียว ขาตรงแข็งแรง ข้อต่อไม่โปน เท้ากีบสั้นกลม ขาหน้ายาวพอประมาณ ยืนตรงได้เนื้อที่ ไม่เขว
            ลักษณะการให้นม คอยาว บาง ค่อย ๆ ลาดกว้างไปหาไหล่ หัวไหล่แหลม เล็ก บาง ซี่โครงขยายกว้างและยาว ช่องท้องมีความกว้างและมีความจุมาก บั้นท้ายบาง เรียบ มองจากด้านหลังจะขยายกว้างเป็นช่องสำหรับเต้านม ผิวหนังบางและยืดหยุ่น ความจุในการกินอาหาร ท้องมีความยาว ลึก และกว้างมาก หน้าอกมีความกว้าง ลึกกลมกลืนกับกระดูกซี่โครง
            ระบบเต้านม เต้านมสมดุลกันทั้งสี่เต้า เต้านมกว้างและลึกจับติดกับแผ่นท้องแน่น ด้านข้างไม่มีร่องแบ่งกล้ามเนื้อ นมนิ่ม เต้านมด้านหน้ายาวพอประมาณ จับแผ่นท้องแน่นมีขนาดเท่ากันทั้งสองข้าง เต้านมด้านหลังมีร่องลึก มองจากด้านหลังเห็นกลีบร่องสูง เต้านมค่อนข้างกลม จับติดกับแผ่นท้องแน่น หัวนมมีขนาดเท่ากันทั้ง 4 เต้า หัวนมอยู่ตรงกลางเต้า ลักษณะเป็นทรงกลมยาว เส้นเลือดไปเลี้ยงเต้านมเห็นชัด เส้นใหญ่และยาว โคนมที่ลักษณะดี เจริญเติบโตเร็ว ร่างกายสมบูรณ์ย่อมให้ผลผลิตสูง โคพันธุ์ผสมโฮสไตน์ฟรีเซี่ยน เป็นพันธุ์ที่ปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เป็นที่นิยมเลี้ยงกัน

 
            2.คอยสังเกตโคที่เกษตรเลี้ยงอยู่สม่ำเสมอเพื่อให้โคนมนั้นมีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่เสมอ แต่บ่อยครั้ง เกษตรผู้เลี้ยงขาดการดูแลเอาใจใส่โคนมที่เลี้ยงอยู่ทำให้โคนมเป็นโรค เช่น โรคเต้านมอักเสบ กีบ อักเสบ เห็บโค และ พยาธิในโค หากเกิดโรคในแต่ละครั้งจะมีอาการรุนแรงจึงต้องใช้ยาปฎิชีวนะฉีดให้กับโค เพื่อรักษาอาการดั่งกล่าว แต่ โรคเต้านมอักเสบหากเป็นอาการที่ไม่รุนแรง เกษตรผู้เลี้ยงโคนมจะใช้น้ำอุ่น ประคบบริเวณเต้านมที่เกิดการอักเสบ 3 – 4 ครั้ง อาการเต้านมก็จะค่อยๆ ดีขึ้น เกษตรที่รีดนมโคที่มีโรคเต้านมอักเสบนั้นไม่สามารถส่งน้ำนมไปให้สหกรณ์ได้ แต่สามารถนำมาเลี้ยงลูกโคได้โดยไม่เกิดปัญหาแต่อย่างใด และ ในบางครั้งเกษตรผู้เลี้ยงโคนมยังต้องฉีด วิตามิน และ แคลเซียมให้กับโคนมเพื่อป้องกันการขาดวิตามิน และ แคลเซียม


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น