1.พันธุ์โคไม่นิยมนำโคพื้นเมืองมาขุนขายเนื่องจากตัวเล็ก โตช้า นิยมโคลูกผสมที่มีเลือดพันธุ์แท้หรือพันธุ์ต่างประเทศ 50 - 75 เปอร์เซ็นต์ เช่นลูกผสมอเมริกันบราห์มันกับพื้นเมือง ลูกผสมบรามันห์พื้นเมืองกับชาโรเล่ย์ ลูกผสมบราทันห์กับชาโรเล่ย์
2.เพศต้องเป็นเพศผู้ที่ผ่านการตอน เนื่องจากเพศผู้จะโตเร็วกว่าเพศเมียจึงนิยมใช้เพศผู้
3.อายุโคที่อายุน้อยใช้ระยะเวลาขุนนานกว่าโคอายุมาก
4. แหล่งที่จะหาซื้อโคมาขุน อาจจะได้จากคอกของผู้เลี้ยงเอง โดยเลี้ยงแม่เพื่อผลิตลูกเอง หรือซื้อจากผู้ผลิตลูกโคขาย หาซื้อตามตลาดนัดโคกระบือ หรือซื้อจากผู้เลี้ยงรายย่อยก็ได้ โดยที่ผู้ซื้อจะต้องมีความชำนาญในการดูลักษณะโคเป็นอย่างดี
5. อาหารโคขุน ส่วนมากจะเลี้ยงด้วยอาหารหยาบแล้วเสริมด้วยอาหารข้น อาหารหยาบจะใช้หญ้าสดเป็นอาหารหลักหรืออาจจะเป็นหญ้าหมัก ต้นข้าวโพด เปลือกถั่ว เปลือกสับปะรด ส่วนอาหารข้นจะนำวัตถุดิบต่าง ๆ มาผสมกัน แต่ต้องมีคุณภาพดี มีโปรตีนและพลังงานตามที่โคต้องการ
6.1 กักสัตว์ดูอาการในคอกกักกันอย่างน้อย 14 วัน
6.2 จัดโคขนาดใกล้เคียงกันให้อยู่ในคอกขุนเดียวกัน (ภาพที่ 8.12)
6.3 ให้วัคซีนป้องกันโรคสำคัญๆ เช่น ปากและเท้าเปื่อย คอบวม แอนแทรกซ์หรือกาลี
6.4 ถ่ายพยาธิทั้งตัวกลมตัวแบนหลังให้วัคซีน 1 สัปดาห์
6.5 กำจัดพยาธิภายนอก เช่น เห็บ
6.6 โคผู้จะต้องเป็นโคผู้ตอน จะเชื่อง สะสมไขมันได้มาก
6.7 การขุน ขึ้นกับอายุและสภาพของสัตว์ โครุ่น ใช้เวลาขุนนานกว่าประมาณ 6 – 8 เดือน โคอายุมาก โคผอม ใช้เวลาขุนสั้นกว่า 3 –6 เดือน
6.8 การให้อาหารในระยะขุน ช่วงแรกให้อาหารข้นโปรตีน 8 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 3 ส่วน อาหารหยาบ 7 ส่วน ช่วงกลางอาหารข้น 5 ส่วน อาหารหยาบ 5 ส่วน และช่วงสุดท้าย อาหารข้น 7 ส่วน อาหารหยาบ 3 ส่วน
7. ลักษณะโคขุนที่พร้อมส่งตลาด โคขุนที่พร้อมจะส่งตลาดจะต้องมีลักษณะดังนี้
7.1 กล้ามเนื้อเจริญเติบโตเต็มที่
7.2 มีการผสมไขมันทั้งแทรกอยู่ในเนื้อและหุ้มอยู่นอกกล้ามเนื้อ
5. อาหารโคขุน ส่วนมากจะเลี้ยงด้วยอาหารหยาบแล้วเสริมด้วยอาหารข้น อาหารหยาบจะใช้หญ้าสดเป็นอาหารหลักหรืออาจจะเป็นหญ้าหมัก ต้นข้าวโพด เปลือกถั่ว เปลือกสับปะรด ส่วนอาหารข้นจะนำวัตถุดิบต่าง ๆ มาผสมกัน แต่ต้องมีคุณภาพดี มีโปรตีนและพลังงานตามที่โคต้องการ
6. การจัดการด้านอื่น ๆ ให้ปฏิบัติดังนี้
6.1 กักสัตว์ดูอาการในคอกกักกันอย่างน้อย 14 วัน
6.2 จัดโคขนาดใกล้เคียงกันให้อยู่ในคอกขุนเดียวกัน (ภาพที่ 8.12)
6.3 ให้วัคซีนป้องกันโรคสำคัญๆ เช่น ปากและเท้าเปื่อย คอบวม แอนแทรกซ์หรือกาลี
6.4 ถ่ายพยาธิทั้งตัวกลมตัวแบนหลังให้วัคซีน 1 สัปดาห์
6.5 กำจัดพยาธิภายนอก เช่น เห็บ
6.6 โคผู้จะต้องเป็นโคผู้ตอน จะเชื่อง สะสมไขมันได้มาก
6.7 การขุน ขึ้นกับอายุและสภาพของสัตว์ โครุ่น ใช้เวลาขุนนานกว่าประมาณ 6 – 8 เดือน โคอายุมาก โคผอม ใช้เวลาขุนสั้นกว่า 3 –6 เดือน
6.8 การให้อาหารในระยะขุน ช่วงแรกให้อาหารข้นโปรตีน 8 เปอร์เซ็นต์ จำนวน 3 ส่วน อาหารหยาบ 7 ส่วน ช่วงกลางอาหารข้น 5 ส่วน อาหารหยาบ 5 ส่วน และช่วงสุดท้าย อาหารข้น 7 ส่วน อาหารหยาบ 3 ส่วน
7. ลักษณะโคขุนที่พร้อมส่งตลาด โคขุนที่พร้อมจะส่งตลาดจะต้องมีลักษณะดังนี้
7.1 กล้ามเนื้อเจริญเติบโตเต็มที่
7.2 มีการผสมไขมันทั้งแทรกอยู่ในเนื้อและหุ้มอยู่นอกกล้ามเนื้อ
7.3 โคจะมีอัตราการเจริญเติบโตน้อยลงถึงแม้จะได้อาหารมาก
7.4 ให้จับโคขุนส่งตลาดได้เมื่อสภาพของโคสมบูรณ์และเติบโตเต็มที่
7.4 ให้จับโคขุนส่งตลาดได้เมื่อสภาพของโคสมบูรณ์และเติบโตเต็มที่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น