ยินดีต้อนรับทุกท่านที่เข้ามาเยี่ยมชม Blogger รอบรู้เรื่องโคเนื้อ - โคนม ขอให้มีความสุขกับการศึกษาความรู้นะค่ะ

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

การแบ่งเกรดซากโคเนื้อ

           การแบ่งเกรดเนื้อสัตว์มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดระดับชั้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ให้อยู่ในมาตรฐานเดียวกัน การแบ่งชั้นและจัดระดับของเนื้อเป็นการกระตุ้นให้ผู้เลี้ยงสัตว์ผลิต เนื้อที่มีคุณภาพดีเพื่อการจำหน่ายได้ราคาดี การจัดระดับเนื้อสัตว์เป็นสิ่งที่ควรเข้าใจ เพื่อให้เลือกเนื้อสัตว์อย่างถูกต้องตามวัตถุประสงค์ ในการแปรรูป หรือการประ กอบ อาหารต่อไป
            การแบ่งเกรดเนื้อถือคุณภาพของซากเป็นหลัก โดยประเมินจากลักษณะที่บ่งถึงความอร่อยของเนื้อ เช่น ความนุ่ม ความชุ่มน้ำ และรสชาติ เป็นต้น ลักษณะซึ่งเป็นปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพของเนื้อที่นำมาใช้ประกอบการแบ่งเกรด ได้แก่ อายุ ไขมันแทรกความแน่น สีของเนื้อสัตว์ และอัตราส่วนขององค์ประกอบภายในซาก
    
การแบ่งเกรดซากโค
          เกรดคุณภาพซาก แบ่งออกเป้น 7 เกรดตามมาตรฐาน กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา ดูจากไขมันแทรก ความแน่น สีเนื้อ และลักษณะเนื้อ


ชั้นดีเยี่ยม (Prime) ส่วนมากเป็นซากที่ได้จากโคอายุน้อย
ชั้นดี (Choice) ระหว่าง 9-42 เดือน (3 ปีครึ่ง)
ชั้นกลาง (Good) มีไขมันแทรกปานกลางถึงสูงสุด
ชั้นทั่วไป (Standard)
ชั้นตลาด (Commercial) ส่วนมากเป็นซากที่ได้จากโคอายุมาก
ชั้นพื้นบ้าน (Utility) อายุตั้งแต่ 42 เดือน เป็นต้นไป มีไขมันแทรก
ชั้นต่ำและต่ำมาก (Cutter and Canner) ต่ำสุด ถึง สูงที่สุด
ชิ้นส่วนที่ได้จากการชำแหละซากโคขุน
สะโพก                                    23 %
สันส่วนหน้า                             9 %
สันส่วนกลาง                            8 %
สันส่วนหลัง                             9 %
ไหล่                                       26 %
พื้นอก                                     8 %
พื้นท้อง                                   5 %
อกหรือเสือร้องไห้                    5 %
แข้งหน้า                                 4 %
ไขมันหุ้มไต                            3 %

ลักษณะการแบ่งเกรดซาก
           การแบ่งเกรดของเนื้อโคสามารถแบ่งตามเกรด 2 ชนิด ได้แก่ เกรดคุณภาพซากและเกรดผลผลิตเกรดคุณภาพซาก เป็นการแบ่งเกรดตามคุณภาพด้านต่างๆของเนื้อสำหรับเกรดผลผลิตเป็นการแบ่งเกรด โดยถือปริมาณหรือน้ำหนักของซาก เป็นเกณฑ์ เช่น ปริมาณเนื้อของซากที่ได้หรือปริมาณเนื้อที่สามารถตัดเพื่อขายปลีก หรือปริมาณเนื้อที่นำมาบริโภคได้ เป็นต้น เกณฑ์ที่ใช้ในการพิจารณาจัดเกรดเนื้อโดยถือปริมาณหรือน้ำหนักซาก ได้แก่ ปริมาณไขมันภายนอก ไขมันรอบไต หัวใจ ภายในช่องท้อง และพื้นที่หน้าตัดของกล้ามเนื้อสันนอก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น