เนื้อโคเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของประชากรโลก โดยเฉพาะประเทศในเขตหนาวจะเป็นที่นิยมบริโภคกันมากกว่าประเทศในเขตร้อน และอาจจะรวมถึงความเชื่อทางศาสนา วัฒนธรรม ประเพณี และค่านิยม ที่ทำให้พฤติกรรมการบริโภคเนื้อในแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน จากข้อมูลการเลี้ยงโคเนื้อในประเทศต่างๆ ทั่วโลกตั้งแต่ปี 1997 จนถึง ปี 2002 พบว่า การเลี้ยงโคเนื้อมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ ในปี 1997 มีโคเนื้อจำนวน 1,332.5 ล้านตัว เพิ่มขึ้นเป็น 1,366.7ล้านตัวในปี 2002 หรือมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 0.51 ต่อปี โดยประเทศที่มีการเลี้ยงโคเนื้อมากที่สุด 5 อันดับแรกของโลกคือ บราซิล จีน สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ( ไม่รวมฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และอังกฤษ ) และอาร์เจนตินา ตามลำดับ
ในด้านปริมาณการผลิตโคเนื้อพบว่าประเทศต่างๆ ทั่วโลกผลิตโคเนื้อเพิ่มขึ้นจากปี 1997 ที่มีปริมาณการผลิตเท่ากับ 55,309 ตัน เป็น 57,883 ตัน ในปี 2002 หรือมีอัตราการผลิตโคเนื้อเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 2.4 ต่อปี โดยประเทศที่ผลิตโคเนื้ออันดับต้นๆ ของโลกได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป บราซิล และจีน ตามลำดับ
แสดงประเทศที่มีการส่งออกโคเนื้อในลำดับต้นๆ ของโลกในปี 2002
การนำเข้าและส่งออกโคเนื้อของบางประเทศที่เป็นผู้นำเข้าและส่งออกโคเนื้อรายใหญ่ๆ ของโลกพบว่า ในช่วงปี 1997 ถึง 2002 มีปริมาณการส่งออกเฉลี่ยเท่ากับ 55,544.8 ตัน โดยประเทศที่มีการส่งออกมากที่สุดคือ ออสเตรเลีย โดยมีการส่งออกเนื้อเท่ากับ 1,362 ตัน (ประมาณร้อยละ 23 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด) รองลงมาคือสหรัฐอเมริกาซึ่งมีปริมาณการส่งออกใกล้เคียงกับออสเตรเลียคือเท่ากับ 1,110 ตัน (ร้อยละ 18 ของปริมาณการส่งออกทั้งหมด) ลำดับต่อมาคือ บราซิล มีการส่งออกเนื้อเท่ากับ 881 ตัน (ร้อยละ 15 ของปริมารการส่งออกทั้งหมด)
แสดงประเทศที่มีการนำเข้าโคเนื้อในลำดับต้นๆ ของโลก ในปี 2002
ส่วนการนำเข้าพบว่าในช่วงปี 1997 ถึง 2002 มีปริมาณการนำเข้าเฉลี่ยเท่ากับ 4,262 ตัน ซึ่งในปี 2002 พบว่าประเทศที่มีการนำเข้าโคเนื้อมากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา มีการนำเข้า 1,460 ตัน ( ร้อยละ 38 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด) รองลงมาคือ ญี่ปุ่น มีการนำเข้า 707 ตัน (ร้อยละ 18 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด) ลำดับต่อมาคือ รัสเซีย มีการนำเข้า 638 ตัน (ร้อยละ 16 ของปริมาณการนำเข้าทั้งหมด)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น